HUAK Society This venue, which was established in September,2017, is an alternative platform devoted to giving ar

Huak Society is a small artist-run gallery in Khon Kaen,Thailand,which exhibits contemporary regional and international artists.This venue, which was established in September,2017, is an alternative platform devoted to giving artists options to exhibit their work. Huak Society มีวัตถุประสงค์เกิดขึ้นจากความต้องการ แสวงหาทิศทางใหม่ ซึ่งเป็นการร่วมมือที่อยากจะเผยแพร่แนวความคิดของการทำงานศิลปะร่วมสมัย

และส่งเสริมให้ศิลปินในภูมิภาคและนานาชาติ รวมทั้งผู้สนใจ แสดงออกและแลกเปลี่ยนแนวความคิด
เวทีนี้เป็นพื้นที่ขนาดเล็กสำหรับแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีแนวทางที่สนับสนุนการสร้างสรรค์และแสดงผลงานสู่สาธารณะชน

ขมอ่ำหล่ำ, วันนี้เลื่อนเวลาขึ้นมาเป็น 17.30 น.
01/03/2025

ขมอ่ำหล่ำ, วันนี้เลื่อนเวลาขึ้นมาเป็น 17.30 น.

https://www.facebook.com/share/p/15LWYW5Bee/อยากขมแนวใด๋กะถือมานำโลด
27/02/2025

https://www.facebook.com/share/p/15LWYW5Bee/
อยากขมแนวใด๋กะถือมานำโลด

ดูความสวยความงามมาเยอะแล้ว
หันกลับมาชิมความ"ขมอ่ำหล่ำ"กันดูบ้าง
เสาร์ที่ 1 มีนา หกโมงเย็น

In the Realm of the Senses is a 1976 erotic art film written and directed by Nagisa Ōshima.ฉายในงาน "ขมอ่ำหล่ำ" เสาร์ที่...
26/02/2025

In the Realm of the Senses
is a 1976 erotic art film
written and directed by Nagisa Ōshima.
ฉายในงาน "ขมอ่ำหล่ำ" เสาร์ที่ 1 มีนานี้
เขตงานธารทิพย์ ขอนแก่น

รำลึก - มณเฑียร. บุญมาProject La Mémoireศิลปินเก้าคนได้รับเชิญให้เข้าร่วมนิทรรศการ เพื่อรำลึกถึงเพื่อนเก่าร่วมชั้น เพื่อ...
25/02/2025

รำลึก - มณเฑียร. บุญมา
Project La Mémoire
ศิลปินเก้าคนได้รับเชิญให้เข้าร่วมนิทรรศการ เพื่อรำลึกถึงเพื่อนเก่าร่วมชั้น เพื่อน ครู และที่ปรึกษา”มณเฑียร บุญมา” โครงการนี้เป็นการทดลองเพื่อดูว่าแนวคิดของเขายังคงมีอิทธิพลต่อศิลปินที่เกี่ยวข้องอย่างไร เป้าหมายของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นความคิดให้กับศิลปินรับเชิญและเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผลงานของมณเฑียร ซึ่งจะยังคงอยู่ในความทรงจำของเรา

เชิญชวนทุกท่านครับ
22/02/2025

เชิญชวนทุกท่านครับ

29/01/2025

ก่อนที่ผู้รักศิลปะจะชมนิทรรศการ Re/Place โดย วิทวัส ทองเขียว ที่ VS Gallery ในเย็นวันพฤหัสบดีนี้ เราขอชวนท่านอาจบทความที่เขียนเกี่ยวกับผลงานในนิทรรศการนี้ โดย รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กันนะครับ..
- The Rhetoric of Caesura: โวหารของความเงียบ -
โดย บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในโลกศิลปะของจิตรกรรมมีศิลปินที่สร้างผลงานใหม่ๆ ทับซ้อนไปบนผลงานเดิมของตัวเองด้วยเหตุผลมากมาย ต่างออกไปแล้วแต่ประสบการณ์ส่วนตัว แนวทางการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ผลงานดั้งเดิมบางชิ้นถูกประเมินว่ามีคุณค่ามากกว่าผลงานที่สร้างทับบนชิ้นงานเก่า แต่ก็ไม่จำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ผลงานที่สร้างทับชิ้นงานเดิมได้รับความชื่นชมจนไม่มีใครสนใจว่าผลงานใหม่จะทาบทับไปบนภาพอะไร
การเดินทางของศิลปินหลายคนได้สร้างต้นทางที่ลึกลับ (myth of origin) เต็มไปด้วยรหัสนัยขึ้นมา หรือเดินทางไปหาแรงบันดาลใจจากต้นทางของอารยธรรม หรือเดินทางไปยังดินแดนที่มีทิวทัศน์ มีแสงและสีที่เจิดจ้า เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในบริบทที่แท้จริง แต่เมื่อมนุษย์สามารถจับแสงเงาจากธรรมชาติด้วยวิธีการทางเคมีทำให้สามารถประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปที่สามารถเก็บทิวทัศน์ ภาพบุคคล กระทั่งบันทึกภาพเคลื่อนไหวจนสามารถสร้างภาพยนตร์ได้ ศิลปินและภาพจิตรกรรมจึงถูกท้าทายเป็นครั้งแรก ถึงความเหมือนจริงและการนำเสนอภาพแทนของความจริง (representation) ซึ่งในครั้งหนึ่งที่เป็นปริมณฑลภายใต้กำกับของจิตรกร อย่างไรก็ดี ภาพจิตรกรรมยังสามารถดำรงสถานะหลักหนึ่งของศิลปะแขนงหนึ่งในโลกร่วมสมัย
แม้ทุกวันนี้ยังมีคำถามว่า ยังมีพื้นที่แบบใดให้สำรวจในโลกจิตรกรรมเมื่อกล้องถ่ายรูปที่ผนึกรวมเข้ากับเครื่องมือสื่อสาร ทำให้ใครๆ ก็สามารถเก็บภาพประทับใจทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กระทั่งทิวทัศน์จากธรรมชาติได้ตลอดเวลา
คำตอบคือ มีพื้นที่ใหม่ๆ ให้สำรวจอยู่เสมอ เช่นงานของ ชัค โคลส (Chuck Close) ที่สร้างภาพเหมือนบุคคล (portrait) จากการแปลความหมายของภาพให้สามารถวางกริด (grid) และจุดพิกเซล (pixel) ทุกชิ้นส่วนของใบหน้าถูกแยกย่อย ซึ่งบางภาพละเอียดราวกับเป็นอณู (atomized) จนสามารถย่อ หรือขยายภาพนั้น พร้อมกับเก็บรายละเอียดได้สมจริงใกล้เคียงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ภาพเหมือนของเขาเกิดขึ้นจากการวางพิกเซลที่ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยของภาพโดยตัวมันเอง และเป็นหน่วยย่อยของภาพขนาดใหญ่โดยรวม การโคลสอัพในระยะประชิดไปยังใบหน้าของผู้คน ทำให้เราเห็นรายละเอียดในระดับที่เล็กลงไปกว่าจุดของภาพ แต่ก็สะท้อนให้เห็นความเหมือนจริงจนเกินกว่าความจริงที่ดวงตาเราสามารถเพ่งมองได้ การซอกซอนชอนไชในระดับนี้สื่อถึงความพยายามที่จะแสวงหาความจริงในรายละเอียดและลึกที่สุด
วิทวัส ทองเขียว ได้สร้างภาพพื้นที่ทิวทัศน์ท้องฟ้าในระดับเหมือนจนเกินจริง (hyperreality) เพื่อบันทึกความรู้สึกที่เขามีต่อโลก สังคมและการเมือง ในห้วงเวลาที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของสังคมไทย ภาพของวิทวัสเป็นภาพที่มองจะระยะไกล แต่ความสามารถในการถ่ายทอดรายละเอียดของแสงดิ่งลึกลงในรายละเอียดอย่างน่าตื่นใจ ภาพสะท้อนปรากฏการณ์ของท้องฟ้าที่ “เคยเป็นจริง” กับเลื่อนลอย ถอยห่างและถูกบดบังด้วยจุด แถบสี เลื่อมลายที่เคลือบพื้นผิวของภาพ ส่งต่อความรู้สึกที่แปลกประหลาด ทั้งอึดอัดและน่าพิศวง สะท้อนความไม่ปะติดปะต่อ ลื่นไหล แต่ละชิ้นงานต่างถูกบดบังด้วยแถบสี และเลื่อมลายที่รบกวนจิตใจ ทั้งที่ซุ่มซ่อนฝังตรึง หรือจงใจสร้างสิ่งบดบังภาพทิวทัศน์อันสวยงามประหลาดตาอย่างลึกลับ
ผลงานชุด Re/Place (2568) นี้ เป็นงานที่เขาพัฒนาต่อจากผลงานในชุด ‘The Ideoscapes of Violence” (2566) ที่เขาลดทอนความซับซ้อนและทดลองปะทะกับแนวทางอภิสัจนิยม (hyperrealist) ที่เขาเคยสร้างมาในรอบหลายปีก่อน แต่ในชุดนี้ วิทวัสเลือกปะทะกับตัวชิ้นงานเดิมของเขาและงานที่สร้างขึ้นมาใหม่ ยิ่งชี้ให้เห็นถึงความพยายามเปิดพรมแดนใหม่จากตัวตนของเขา
เอาเข้าจริงๆ แล้ว การมีชีวิตอยู่เป็นผู้สังเกตการณ์เฝ้าดูในช่วงรอยต่อทางประวัติศาสตร์และไม่ได้รับผลกระทบในทางใด เมื่อมองไปด้วยสายตาที่ไม่ยินดียินร้ายอาจเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น ตื่นตา ตื่นใจ แต่หากเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือรับผลกระทบทางใดทางหนึ่ง การเฝ้ามองนี้อาจช่วงเวลาที่หดหู่ ดำมืด น่าเบื่อหน่ายและกระวนกระวายที่จะหลุดพ้นจากความอึดอัดคับข้องใจ พร้อมๆ กับมีความใคร่รู้ถึงปลายทางของความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
การสร้างสรรค์ผ่านการชำระตัวตน แล้วพยายามสนทนากับชิ้นงานหรือแนวทางที่เขาเคยสร้างสรรค์ เป็นการแสดงจุดยืนของวิทวัสและเป็นการเดินทางที่มีแรงผลักดันจากความพยายามทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมไปพร้อมๆ กัน
ในคำอธิบายของโรล็อง บาร์ธ (Roland Barthes) เกี่ยวกับภาพและความจริงนั้น เริ่มจากสัญญะ (sign) ในฐานะสัญญะที่เป็นภาพรวมทั้งตัวภาพ (image) และความหมายทางความคิดของมัน (concept) หรือ เรียกว่า สัญญะ (signifier) กับส่วนที่เป็นตัวถูกหมาย/ความหมาย (signified) กลายมาเป็นเพียงสัญญะ (signifier) หนึ่งในความหมายชั้นที่สองที่จะประกอบสร้างความหมายซ้อนขึ้นไปเรื่อยๆ
การประกอบสร้างความหมายของผลงานชุดนี้จึงประกอบด้วยภาพทิวทัศน์ในฐานะที่เป็นสัญญะกับความหมายที่ประกอบขึ้น ทั้งส่วนที่เป็นความหมายโดยรูป (denotation) กับความหมายโดยนัย (connotation) ซึ่งยังเปิดพื้นที่ให้กับความหมายที่สาม (the third meaning) จากการ “อ่าน” ของผู้ชม
ในภาษาบทกวี คำว่า “caesura” หมายถึงเสียงเงียบระหว่างวลี เป็นความเงียบระหว่างวรรคตอน ประโยค การเว้นวรรคในท่วงทำนองของบทกวี หรือในทางสังคมและการเมืองหมายถึงการหยุดชะงัก การขัดขวาง ในที่นี้การเงียบ หรือวรรคตอน ในภาพของวิทวัส จึงหมายถึงโอกาสในการเข้าใจและสร้างความหมายที่สามจากการชม การขบคิดและจินตนาการของผู้ชม ภาพชุด “Re/Place” จึงเปรียบได้กับโวหารของความเงียบระหว่างถ้อยคำ ห้วงเวลา รอยต่อของวัน และประวัติศาสตร์ ..
1 รองศาสตราจารย์ประจำภาวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 Weintraub, Linda, Arthur Danto and Thomas McEvilley. 1996. “Chuck Close”. Art on the Edge and Over. Connecticut: Art Insight Inc., 145-151.
3 Mitchell, William J. 1994. The Reconfigured Eye: Visual Truth in the Post-Photographic Era. Cambridge, Massachusetts: MIT Press, 75-76.
4 Barthes, Roland. 1972. “Myth Today” Mythologies. New York: Hill and Wang, 114-115.

https://www.facebook.com/share/1APehGiBiN/?mibextid=WC7FNe
15/11/2024

https://www.facebook.com/share/1APehGiBiN/?mibextid=WC7FNe

ผู้คนแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่าง และประสบการณ์ แต่มาตรฐานของสังคม กดทับความมั่นใจของผู้หญิง ส่งผลให้หลาย.....

11/09/2024
09/09/2024

คณะที่ลาบสูง...ขอเชิญชวนร่วมชมภาพยนตร์
รางวัล - Silver Bear for outstanding artistic contribution
จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่ 55
The Wayward Cloud, 2005, 112 minutes (sub thai)
กำกับโดย Tsai Ming-liang
10 กันยายน เวลา 18.00 น.

28/08/2024

สั่ง-สอน, Video, ความยาว 01.10 นาที

ที่อยู่

93/131 Soi Sri Chant 10/1 Sri Chant Road Amphoe Mueang
Amphoe Muang Khon Kaen
40000

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ HUAK Societyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง HUAK Society:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

Our Story

Huak Society is a small artist-run gallery in Khon Kaen,Thailand,which exhibits contemporary regional and international artists. This venue, which was established in September,2017, is an alternative platform devoted to giving artists options to exhibit their work. Huak Society มีวัตถุประสงค์เกิดขึ้นจากความต้องการ แสวงหาทิศทางใหม่ ซึ่งเป็นการร่วมมือที่อยากจะเผยแพร่แนวความคิดของการทำงานศิลปะร่วมสมัย และส่งเสริมให้ศิลปินในภูมิภาคและนานาชาติ รวมทั้งผู้สนใจ มาแสดงออก และแลกเปลี่ยนแนวความคิด เวทีนี้เป็นพื้นที่ขนาดเล็กสำหรับแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีแนวทางที่สนับสนุนการสร้างสรรค์และแสดงผลงานสู่ สาธารณะชน